สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร

ข้อมูลทั่วไป

1.1 แผนที่จังหวัดสกลนคร

รูปภาพที่ 1 แผนที่จังหวัดสกลนคร

1.2 แผนที่อำเภอเมืองสกลนคร

รูปภาพที่ 2 แผนที่จังหวัดสกลนคร

1.3 ประวัติอำเภอเมืองสกลนคร
ณ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดิมเรียกว่า อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรขอมในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ที่แผ่ขยายอิทธิพลออกไปกว้างไกลบริเวณหนองหารซึ่งเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ มีเมืองน้อยใหญ่ตั้งอยู่รายรอบ เมืองหนองหารหลวง ก็ตั้งเมืองอยู่ริมหนองหารเช่นเดียวกัน ขณะที่เมืองหนองหารหลวงเป็นจุดศูนย์กลางทางการปกครองแบบขอม อิทธิพลของขอมก็แผ่ขยายออกไปทั่วดินแดนอีสาน ศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็แพร่หลายตามลำน้ำโขงขึ้นไปจนถึงเมืองสกลนครและเมืองอุดรธานี ดังหลักฐานศิลาจารึกที่มีผู้ค้นพบและนำมาเก็บรักษาไว้ในวัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ที่กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีถือว่าเป็นกษัตริย์ขอมที่มีเดชานุภาพทางด้านศาสนาเป็นอย่างมาก
ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีเป็นราชธานีกลับไม่ปรากฏบันทึกเกี่ยวกับเมืองหนองหารหลวง     ซึ่งเป็นเมืองทางการปกครองของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ไว้แต่อย่างใด จึงเข้าใจว่าเมืองหนองหารหลวงคงจะลดความสำคัญลงเป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง                 ซึ่งเจริญรุ่งเรืองแทนที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายต่อมาถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มากกว่าจะเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรไทย หลังจากอาณาจักรขอมเจริญถึงขีดสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 และตกต่ำลงเป็นอย่างมากหลังสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชุมชนเมืองหนองหารหลวงได้ขาดหายไป และมาปรากฏหลักฐานอีกครั้งจากการบอกเล่าของ เพี้ยศรีครชุม หัวหน้าคณะผู้ปฏิบัติพระธาตุเชิงชุม ซึ่งเป็นพระธาตุสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ต่อมาสมัยรัชกาลใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์อพยพครอบครัวมารักษาพระธาตุเชิงชุมพร้อมทั้งเกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่นานหลายปี จนกระทั่งอุปฮาดเมืองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชธานี เจ้าเมืองหนองหารหลวง พร้อมทั้งเปลี่ยนนามเมืองใหม่ว่า "เมืองสกลทวาปี" ขึ้นแก่กรุงสยาม
ครั้นถึงปีกุน พ.ศ. 2370 สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ยกทัพไปปราบขบถเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ทัพหลวงได้แวะตรวจราชการที่เมืองสกลทวาปี ปรากฏว่าเจ้าเมืองไม่ได้จัดเตรียมกองกำลังและกระสุนดินดำไว้ตามคำสั่ง แม่ทัพจึงสั่งให้เอาเจ้าเมืองไปประหารชีวิต แล้วต้อนราษฎรอพยพไปเมืองกระบิล เมืองจันทคาม และเมืองประจันตะคาม จากนั้นมีคำสั่งให้ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์มาทำหน้าที่ดูแลเมืองสกลทวาปีต่อไป
ถึงปีจอ จุลศักราช 1200 ตรงกับ พ.ศ. 2381 ได้มีการตั้งเจ้าราชวงศ์ (ดำ) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองนครพนม ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อคราวเจ้าอนุวงศ์คิดก่อการขบถ มีการเปลี่ยนนามเมืองอีกครั้งจากเมืองสกลทวาปีเป็น เมืองสกลนคร ใช้ระบบการปกครองหัวเมืองโบราณ โดยมีเจ้าเมืองอุปฮาดราชวงศ์และราชบุตรเป็นผู้ปกครอง จนถึงปี พ.ศ. 2435 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ  
การปกครองมาเป็นส่วนภูมิภาค มณฑลเทศาภิบาล โดยโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยาสุรเดช (กาจ) มาเป็นข้าหลวงเมืองสกลนครคนแรก
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศสยามในปี พ.ศ.2476 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม เมืองสกลทวาปีจึงเปลี่ยนนามมาเป็น "จังหวัดสกลนคร" โดยมีพระตราษบุรีสุนทรเขตเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครคนแรก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทใหม่ของจังหวัดสกลนครนับแต่นั้นมา
1.4 ทำเลที่ตั้ง
อำเภอเมืองสกลนครตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ตามแผนที่จังหวัดสกลนครโดยมีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร    ประมาณ  647 กิโลเมตร
     (1)  ขนาด

  • อำเภอเมืองสกลนคร  มีพื้นที่ประมาณ  1,023.4   ตารางกิโลเมตร

(2) อาณาเขต
ทิศเหนือ                  จด  อำเภอพรรณานิคม อำเภอนาหว้า (จังหวัดนครพนม) และอำเภอกุสุมาลย์
ทิศตะวันออก          จด  อำเภอโพนนาแก้วและอำเภอโคกศรีสุพรรณ
ทิศตะวันตก            จด  อำเภอเต่างอยและอำเภอภูพาน
ทิศใต้                      จด  อำเภอกุดบากและอำเภอพรรณานิคม
(3) ภูมิประเทศ

  •                 อำเภอเมืองสกลนคร เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่ง ตั้งอยู่ในที่ราบแอ่งสกลนครของตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีเทือกเขาภูพานขวางกั้น  สภาพของภูมิประเทศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น  3  ตอน   คือ     ทางตอนเหนือ ของสกลนคร เป็นที่ราบลุ่มสูงมีป่าไม้ทึบ   ตอนกลางของสกลนครเป็นที่ราบลุ่มต่ำที่เหมาะแก่การทำนา   แต่สำหรับตอนใต้เป็น ที่ราบ ที่อยู่ใกล้กับเชิงเขาภูพาน  อันเป็นที่เกิดแหล่งน้ำหลายสาย  พื้นที่ส่วนมากมักจะมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด     มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำสงคราม ซึ่งเกิดจากต้นน้ำในเขตอำเภอหนองหาร จังหวัด อุดรธานี ไหลผ่านเข้าสู่เขตสกลนครผ่านลงไปสู่จังหวัดนครพนม แม่น้ำสายนี้ถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในแอ่งที่ราบ สกลนคร ลำน้ำอูน   มีต้นน้ำกำเนิดมาจากเทือกเขาภูพานในเขตสกลนคร  ไหลผ่านลงมายังอำเภอกุดบาก อำเภอพรรณานิคม และ ไหลลงสู่เขตจังหวัดนครพนม ลำน้ำยามหรือแม่น้ำยาม มีต้นน้ำในเขตสกลนคร ไหลผ่านอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส และอำเภออากาศอำนวย ลงสู่เขตจังหวัดนครพนม ก่อนที่จะไหลลงไปรวมที่ลำน้ำโขงและยังมีลำน้ำสายอื่นๆ อีกมากมาย  เช่น ลำน้ำพุง ลำน้ำก่ำ และห้วยทราย ห้วยบ่อ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่สกลนครตลอดมา
  •                นอกจากนี้  ยังมีบึงขนาดใหญ่ เรียกว่า "หนองหาน" อยู่ในตัวเมืองสกลนคร และกลายเป็นตำนาน เมืองสกลนครมาจนบัดนี้ หนองหานเป็นหนองน้ำธรรมชาติที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองลงมาจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ และกว๊านพะเยา ในจังหวัดพะเยา หนองหาน นี้มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดราว 23,125 ไร่ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำนานาชนิด

1.5 ภูมิอากาศ

               ลักษณะที่ตั้งของเมืองสกลนคร เหมือนแอ่งกระทะ จึงมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างจะร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และเมื่อถึงฤดูฝน มักจะมีฝนตกชุกมาก แต่ครั้นถึงฤดูหนาวก็จะมีอากาศที่หนาวเย็นมากกว่า และนานกว่าในพื้นที่อื่นๆ ของภาคอีสานลักษณะภูมิอากาศของอำเภอเมืองสกลนคร  เป็นแบบมรสุม  3  ฤดู คือ
ฤดูร้อน                  เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม  ถึงเดือนมิถุนายน
ฤดูฝน                     เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว                เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  ถึงเดือนกุมภาพันธ์

1.6 การปกครองท้องถิ่น
                 แบ่งการปกครองออกเป็น 16 ตำบล และหมู่บ้านที่อยู่นอกเขตเทศบาล จำนวน 15 ตำบล 170  หมู่บ้าน ตำบลที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองฯ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลธาตุเชิงชุม ประกอบด้วย ชุมชน จำนวน  34  ชุมชน  เขตเทศบาลตำบลท่าแร่ ประกอบด้วยชุมชน 15 ชุมชน  เขตเทศบาลดงมะไฟ ประกอบด้วยชุมชน 12 ชุมชน   มีการกระจายอำนาจการบริหาร  ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล  15 แห่ง  เทศบาลเมือง  1 แห่ง เทศบาลตำบล  2  แห่ง  ดังมีรายละเอียดคือ
          ตำบลโคกก่อง
                     1) บ้านหนองฮูดัง 2) บ้านโคกก่อง 3) บ้านหนองใส 4) บ้านดงแต้ 5) บ้านโคกสูง 6) บ้านบึงแดง
  7) บ้านยางอาด 8) บ้านโคกก่องใหญ่
          ตำบลม่วงลาย
                     1) บ้านนาลาย 2) บ้านดอนแก้ว 3) บ้านอีเลิศ 4) บ้านหนองห้าง 5) บ้านกุดจิก 6) บ้านดงเปลือย
  7) บ้านม่วงลาย 8) บ้านโคกลาย    9) บ้านม่วงลาย
          ตำบลโนนหอม
                     1) บ้านท่าเยี่ยม 2) บ้านโนนหอม 3) บ้านไผ่ล้อม 4) บ้านห้วยปลาใย 5) บ้านโพนนาไก่ 6) บ้านดงต้อง 7) บ้านแคมพุง  8) บ้านหนองจี่เต่า 9) บ้านคำผักแพว 10) บ้านโพนยางคำ
          ตำบลพังขว้าง
                     1) บ้านพังขว้างใต้ 2) บ้านพังขว้างเหนือ 3) บ้านดงขุมข้าว 4) บ้านห้วยทราย 5) บ้านหนองยาง   
                     6) บ้านดงยอ 7) บ้านโนนชลประทาน 8) บ้านโนนสวรรค์ 9) บ้านหนองปลาดุก 10) บ้านดงสมบูรณ์  
                     11) บ้านหนองบัวสามัคคี 12) บ้านกลาง 13) บ้านโนนสูง 14) บ้านดงขุมข้าวใต้

ตำบลหนองลาด
                     1) บ้านนาหมาโป๊ 2) บ้านท่าม่วง 3) บ้านทุ่งมั่ง 4) บ้านหนองแคนเหนือ 5) บ้านสายปลาหลาย    
6) บ้านหนองลาดน้อย 7) บ้านหนองลาดใหญ่ 8) บ้านหนองลาดใต้ 9) บ้านดอนสัมพันธ์      10) บ้านดอนแคนใต้
 ตำบลเชียงเครือ
                     1) บ้านเชียงเครือ 2) บ้านโพนสวาง 3) บ้านดอนเชียงบานน้อย 4) บ้านหนองหอย 5) บ้านดอนเชียงคูณ 6) บ้านหนองสนม   7) บ้านป่าหว้าน   8) บ้านทุ่งมน  9) บ้านโคกสว่าง  10) บ้านนาคำไฮ   11) บ้านโนนเบ็ญ  
12) บ้านโนนศาลา   13) บ้านดอนเชียงบานใหญ่   14) บ้านเชียงเครือวัดใหญ่   15) บ้านทุ่งมนพัฒนา
16) บ้านทุ่งพัฒนา    17) บ้านหนองหอยใหม่
  ตำบลท่าแร่
                     1) บ้านท่าแร่ 2) บ้านพะโค 3) บ้านท่าแร่เหนือ 4) บ้านหนองบัวทอง 5) บ้านป่าพนาวัลย์           
   6) บ้านท่าแร่สามัคคี  7) บ้านท่าแร่พัฒนา 8) บ้านสร้างแก้วสมานมิตร
   ตำบลเหล่าปอแดง
                     1) บ้านหนองแคน 2) บ้านหนองแดง 3) บ้านท่าวัดเหนือ 4) บ้านกกส้มโฮง 5) บ้านหนองสระ    
6) บ้านเหล่าปอแดง    7) บ้านหนองปลาน้อย     8) บ้านดอนยาง   9) บ้านท่าวัดใต้    10) บ้านดอนกกยาง 
11) บ้านดอนยางใต้   12) บ้านกกกะพุง
    ตำบลดงชน
                     1) บ้านเหล่ามะแงว 2) บ้านดงชน 3) บ้านแมด 4) บ้านกุดแข้ 5) บ้านทามไฮ 6) บ้านหนองมะเกลือ     7) บ้านเหล่าละโมง 8) บ้านโพนปอหู 9) บ้านป่าแพง 10) บ้านใหม่หนองมะเกลือ
    ตำบลฮางโฮง 
                     1) บ้านดอนเสาธง 2) บ้านชะโนด 3) บ้านหนองกุง 4) บ้านน้อยจอมศรี 5) บ้านฮางโฮง 6) บ้านนาดอกไม้ 7) บ้านดอนตาลโง๊ะ 8) บ้านดอนกะเล็น 9) บ้านหนองศาลา 10) บ้านน้อยจอมศรีใหม่ 11) บ้านหนองแหวน
    ตำบลธาตุนาเวง
                     1) บ้านหนองบัว 2) บ้านโคกสว่าง 3) บ้านรุ่งพัฒนา 4) บ้านดงพัฒนา 5) บ้านมะขามป้อม 
    ตำบลห้วยยาง
                     1) บ้านศรีวิชา 2) บ้านห้วยยาง 3) บ้านนาขาม 4) บ้านนาคำ 5) บ้านบอน 6) บ้านเหล่า    7) บ้านพะเนาว์  8) บ้านลาดกะเฌอ 9) บ้านม่วง 10)บ้านนานกเค้า 11) บ้านหนองบัวทอง 12) บ้านลาดสมบูรณ์    13) บ้านคลองไผ่พัฒนา 14) บ้านหนองแฝกพัฒนา 15) บ้านท่าวัดทุ่งพัฒนา 16)บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่
    ตำบลงิ้วด่อน
                      1) บ้านงิ้วด่อน 2) บ้านทับสอ 3) บ้านคูสนาม 4) บ้านพังเม็ก 5) บ้านดอนหมู 6) บ้านดอนจ้อก้อ 7) บ้านโพธิ์ศรี  8) บ้านนายอ 9) บ้านโพนงาม 10) บ้านนามน 11) บ้านเหล่าพังผือ 12) บ้านกกกอก 13) บ้านใหญ่นายอ 14) บ้านกกกอกใหม่ 15) บ้านธาตุดุมเหล่าทัพ 16) บ้านงิ้วด่อนใหม่
    ตำบลขมิ้น
                      1) บ้านดงมะไฟ 2) บ้านขมิ้น 3) บ้านผักขะย่า 4) บ้านโคกเลาะ 5) บ้านโคกเลาะน้อย 6) บ้านโพนบก 7) บ้านน้อยหัวคู    8) บ้านพานทอง    9) บ้านประชาสุขสันต์    10) บ้านพานพัฒนา    11) บ้านนาเรือง
12) บ้านดงมะไฟพัฒนา    13) บ้านดงมะไฟสามัคคี
    ตำบลดงมะไฟ
                     1) บ้านดงมะไฟ   2) บ้านโพนก้างปลา   3) บ้านดงขวาง   4) บ้านนาแก   5) บ้านนากับแก้
6) บ้านเหล่านกยูง 7) บ้านหนองไผ่ 8) บ้านโพนแดง 9) บ้านดงน้อย 10) บ้านโนนสมบูรณ์
11) บ้านดงมะไฟประชาพัฒนา      12) บ้านหนองไผ่
          ตำบลธาตุเชิงชุม
                      1) ชุมชนธาตุนาเวง 2) ชุมชนกลางธงชัย 3) ชุมชนหนองสนม 4) ชุมชนนาอ้อย 5) ชุมชนวัดเหนือ
                       6) ชุมชนกกส้มโฮง   7) ชุมชนศรีบุญเรือง   8) ชุมชนธาตุดูม   9) ชุมชนวัดศรีสะเกษ   10) ชุมชนวัดสะพานคำ
                      11) ชุมชนบ้านธาตุ   12) ชุมชนหน้าค่าย   13) ชุมชนวัดศรีสุมังค์   14) ชุมชนวัดพระธาตุ   15) ชุมชนวัดโพธิ์ชัย
                      16) ชุมชนหลังเทศบาล   17) ชุมชนแวงใหญ่    18) ชุมชนหนองแดง   19) ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส 1  
                      20) ชุมชนวัดป่าสุทธาวาส 2    21) ชุมชนหนองทรายขาว    22) ชุมชนคำสะอาด    23) ชุมชนตลาดเทศบาล   
                      24) ชุมชนหนองมันปลา    25) ชุมชนรุ่งพัฒนา    26) ชุมชนสกลเมืองทอง    27) ชุมชนหนองหารหลวง   
                      28) ชุมชนแออัดห้วยโมง    29) ชุมชนมะขามป้อม    30) ชุมชนวัดศรีชมพู     31) ชุมชนดงพัฒนา      
                      32) ชุมชนจังหวัดทหารบกสกลนคร (จทบ.สน.)    33) ชุมชนทหารราบที่ 3 (ร.3) 909    
                      34) ชุมชนกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 3 (ร.3 พัน 1)

              การกระจายอำนาจการบริหาร ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล 15 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 2 แห่ง ดังรายละเอียดข้อมูล
                      1.องค์การบริหารส่วนตำบล โคกก่อง
                      2. องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงลาย
                      3. องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม
                      4. องค์การบริหารส่วนตำบลพังขว้าง
                      5. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองลาด
                      6. องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ
                      7. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร่
                      8. องค์การบริหารส่วนตำบล เหล่าปอแดง
                      9. องค์การบริหารส่วนตำบลดงชน
                      10. องค์การบริหารส่วนตำบลฮางโฮง
                      11. องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุนาเวง
                      12. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
                      13. องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วด่อน
                      14. องค์การบริหารส่วนตำบลขมิ้น
                      15. องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ
                      16. เทศบาลเมืองสกลนคร 34 ชุมชน
                      17. เทศบาลตำบลท่าแร่ 15 ชุมชน  ดังนี้
           1) ชุมชนท่าสะอาด 2) ชุมชนเฟื่องฟู 3) ชุมชนกลางใต้ 4) ชุมชนกลางเหนือ 5) ชุมชนท่าแร่
            6) ชุมชนท่าแร่ใต้ 7) ชุมชนสหมิตรสัมพันธ์ 8) ชุมชนท่าแร่เหนือ 9) ชุมชนสามัคคี 10) ชุมชนบ้านใหม่
           11) ชุมชนสมประสงค์ 12) ชุมชนไทยเดิม 13) ชุมชนป่าหว้าน 14) ชุมชนสร้างแก้ว 15) ชุมชนสมานมิตร
           18. เทศบาลตำบลดงมะไฟ 12 ชุมชน  ดังนี้
           1) ชุมชนภูไทพัฒนา 2) ชุมชนเทศบาล 3) ชุมชนสุขาสามัคคี 4) ชุมชนเจ้าปู่ 5) ชุมชนสุขสำราญ 6) ชุมชนใจกลางสร้างคำ 7) ชุมชนศรีทัตพัฒนา 8) ชุมชนหนองแวง            9) ชุมชนพิทักษ์คำ   10) ชุมชนข้าวปุ้นเศรษฐกิจ 11) ชุมชนอนามัยหลักเมือง 12) ชุมชนตลาดราชดำเนิน

1.7 ทรัพยากรธรรมชาติ

1.7.1) ทรัพยากรป่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 86.23 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ลักษณะป่ามี 3 ชนิดคือ
- ป่าเต็งรัง ร้อยละ 41.58
- ป่าดิบแล้ง ร้อยละ 22.16
- ป่าเบญจพรรณร้อยละ 17.49
1.7.2) ทรัพยากรสัตว์ป่า มีจำนวนประมาณ 162 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ดังนี้
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 53 ชนิด เช่นช้างป่า เก้ง ลิง อีเห็น ค้างคาว กระรอก กระรอกบิน พังพอน
- สัตว์ปีก 42 ชนิด เช่นนกยูง ไก่ป่า และนกชนิดต่างๆ มากกว่า 70 ชนิด
- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 17 ชนิด เช่น อึ่งอ่าง กบ เขียด ชนิดต่างๆ
- สัตว์เลื้อยคลาน 37 ชนิด เช่น เต่า ตะพาบน้ำ ตะกวด และงู ชนิดต่างๆนอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สัตว์ที่จัดเป็นสัตว์ป่าที่หายากถึง 47 ชนิด ขณะเดียวกันยังอุดมไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น แร่ธาตุ ดิน น้ำ ฯลฯ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นและของประเทศโดยส่วนรวม                
1.7.3) แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
- หนองหาร
- ลำน้ำพุง
- ลำน้ำยาม

1.8   โครงสร้างพื้นฐาน
          การจราจร  ในเขตเทศบาล  โดยเฉพาะศูนย์กลางของเมืองจะมีการจราจรที่สะดวก  มีไฟ จราจรตามถนนสายหลักหลายสายโดยเฉพาะถนนสายที่มีการจราจรคับคั่ง     ย่านชุมชนแออัด  ทำให้การจราจรสะดวก   มีการกำหนดให้รถวิ่งทางเดียว  เช่น  ในย่านตลาดสด มีการกำหนดการจอดรถวันคู่  วันคี่   กำหนดช่วงเวลาจอดรถในถนนย่านสำคัญๆ   และบริเวณถนนหน้าโรงเรียน       
                   ทางบก    การคมนาคมขนส่ง   ในเขตเทศบาลสามารถติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ   ได้สะดวกโดยเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางหลายเส้นทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ   ถ้าเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2   จากกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมาแล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 เข้าสู่จังหวัดสกลนคร ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง 
                   ทางอากาศ     ในปัจจุบันการเดินทางโดยเครื่องบินมายังจังหวัดสกลนคร    จะมีเครื่องบินบริการโดยใช้สนามบินพาณิชย์จังหวัดสกลนคร   ตั้งแต่เดือน  มีนาคม  2547 มีเที่ยวบินของบริษัทไว้บริการ
1.9 เศรษฐกิจ
ลักษณะหรือประเภทของการประกอบอาชีพของประชาชน    ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาจะประกอบอาชีพอุตสาหกรรม  ค้าส่งและค้าปลีก  ประเภทอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการประกอบการพาณิชยกรรม  การบริการต่าง ๆ
การเกษตรกรรม
       นับว่าเป็นสาขาการผลิตที่สำคัญที่สุด  เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของเกษตรกรจะมาจากสาขาการกสิกรรมเนื่องจากสภาพพื้นที่และโครงสร้างเหมาะสมกับการทำนาปลูกข้าว   ซึ่งได้ผลผลิตดีกว่าทำการเพาะปลูกพืชประเภทอื่น ๆ   ส่วนใหญ่ชาวนาจะปลูกข้าวเหนียวมากกว่าข้าวจ้าว
       การพาณิชยกรรมและบริการ
        ประเภทและจำนวนสถานประกอบการด้านการพาณิชยกรรมและบริการเฉพาะในเขตเทศบาล  เช่น
1)      สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
ก.  สถานีบริการน้ำมัน                          จำนวน        13   แห่ง
ข.  ห้างสรรพสินค้า                               จำนวน          2   แห่ง
ค.  ตลาดสด                                           จำนวน          5   แห่ง
ง.  ร้านค้าทั่วไป                                     จำนวน      205   แห่ง

 

2)      สถานประกอบการเทศพานิชย์
ก.  สถานธานุบาล                                  จำนวน        1    แห่ง
ข.  โรงฆ่าสัตว์                                       จำนวน        1    แห่ง

3)      สถานประกอบการด้านบริการ
ก.  โรงแรม                                            จำนวน        15   แห่ง
ข.  ธนาคาร                                           จำนวน        13    แห่ง
ค.  โรงภาพยนตร์                                  จำนวน         1    แห่ง
ง.  สถานที่จำหน่ายอาหาร ตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข      จำนวน 202 แห่ง
           การพาณิชยกรรมและการบริการ     เฉพาะในเขตเทศบาลในปัจจุบันผู้ประกอบการจะประสบกับปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนทำให้มีการเลิกกิจการลงไปบ้าง  เช่น  ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างซบเซาลง  เพราะภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
             การพาณิชยกรรม  ในเขตเทศบาลจะประกอบด้วย  การรับเหมาก่อสร้าง  การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค การปรึกษาด้านกฎหมาย  การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง  การรับจ้างขนส่งสินค้า  สถาบันประกันภัยและประกันชีวิต
          การบริการในเขตเทศบาล มีการประกอบธุรกิจด้านการบริการหลายประเภทเป็นต้นว่า ไนต์คลับ  จำนวน  1  แห่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน  5  แห่ง  ร้านขายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกจำนวน  10  แห่ง   ปัจจุบันธุรกิจด้านการบริการในเขตเมืองอยู่ในระยะพัฒนาการให้ดียิ่งขึ้น      เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด
1.10 สถานะทางสังคม
ศาสนา  ประชาชนร้อยละ  98 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2 นับถือศาสนาศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ตามแบบอย่างชาวอีสานทั่วไป คือ ยึดหลักฮีดสิบสอง ครองสิบสี่
พิธีกรรมทางศาสนา  ได้แก่  การปฏิบัติทางศาสนา ในท้องถิ่นจะถือปฏิบัติเพียง 2 ลักษณะศาสนา  คือ   ศาสนาพุทธ  และศาสนาพราหมณ์  พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ  เช่น  การจัดงานวันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชา  วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  เป็นต้น  ส่วนพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์  เช่น  บายศรีสู่ขวัญ  ขึ้นบ้านใหม่  งานแต่งงาน  เป็นต้น
ความเชื่อ  ได้แก่  เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  เช่น  เชื่อในการทำความดี  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  มีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เชื่อในบาปบุญคุณโทษ  และบางหมู่บ้านมีความเชื่อผี  นับถือผีปู่ตา  นับถือศาลเจ้า เชื่อหมอดู  ผีหมอ เป็นต้น
การสาธารณสุข  มีสถานบริการตั้งอยู่ในเขต ดังนี้

  • โรงพยาบาลของรัฐ                              ขนาด 500 เตียง            1  แห่ง
  • โรงพยาบาลของรัฐ (รพ.ค่ายกฤษณ์)    ขนาด 10 เตียง                     1  แห่ง  
  • โรงพยาบาลของเอกชน                        ขนาด 10 เตียง            1  แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                                                                1  แห่ง
  • สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน                                                  27  แห่ง
  • สถานพยาบาลเอกชน(เขตเทศบาล)                                                    15  แห่ง
  • ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                                                     256 แห่ง

1.11 ประชากร (ณ วันที่ 24 มีนาคม 2552)
อำเภอเมืองสกลนคร มีประชากรทั้งหมด   184,943 คน เพศชาย 90,272 คน เพศหญิง   94,671 คน
ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย  181 คนต่อตารางกิโลเมตร

ตารางที่  1      จำนวนหลังคาเรือนและประชากรกลางปี 2552 ของอำเภอเมืองสกลนคร
แบ่งแยกเป็นรายตำบล

 ตำบล

จากการสำรวจ

หลังคาเรือน

ชาย  (คน)

หญิง  (คน)

รวม (คน)

หนองลาด

777

3,355

3,335

6,690

ขมิ้น

3,972

8,954

9,403

18,357

ฮางโฮง

1,844

4,291

4,353

8,644

เชียงเครือ

5,065

8,314

8,760

17,074

ท่าแร่

2,550

5,848

6,075

11,923

โคกก่อง

1,913

2,303

2,297

4,600

ม่วงลาย

2,246

2,485

2,499

4,984

ดงชน

1,057

2,571

2,645

5,216

เหล่าปอแดง

1,761

4,154

4,176

8,330

โนนหอม

1,659

3,586

3,623

7,209

งิ้วด่อน

2,199

4,246

4,188

8,434

ดงมะไฟ

1,495

3,015

5,205

8,220

ห้วยยาง

2,759

6,346

6,258

12,604

พังขว้าง

3,470

7,827

8,064

15,891

ธาตุนาเวง

575

1,232

1,331

2,563

ธาตุเชิงชุม

10,638

21,745

22,459

44,204

รวม

45,557

90,272

94,671

184,943

   ที่มา  :  การสำรวจ ณ กรกฎาคม   2551
ตารางที่  2  จำนวนประชากร ของอำเภอเมืองสกลนคร ปี 2552 จำแนกตามกลุ่มอายุ

 กลุ่มอายุ

ประชากรอำเภอเมืองสกลนคร

ชาย

หญิง

รวม

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

0 - 4
5 - 9
10 – 14
15 - 19
20 - 24
25 - 29
30 - 34
35 - 39
40 - 44
45 - 49
50 - 54
55 - 59
60 - 64
65 - 69
70 – 74
75 - 79
80 ขึ้นไป

4,882
5,522
2,331
4,501
8,141
7,366
12,051
7,820
11,583
10,661
4,515
3,400
2,578
1,813
1,256
1,068
804

5.4
6.1
2.6
5.0
9.0
8.2
13.3
8.7
12.8
11.8
5.0
3.8
2.9
2.0
1.4
1.2
0.9

5,114
5,366
4,517
2,484
8,683
6,874
11,803
8,754
11,724
11,886
4,889
3,877
2,970
2,098
1,515
1,054
1,063

5.4
5.7
4.8
2.6
9.2
7.3
12.5
9.2
12.4
12.6
5.2
4.1
3.1
2.2
16.6
1.1
1.1

9,996
10,888
6,828
6,985
16,824
14,240
23,854
16,574
23,307
22547
9,404
7,277
5,548
3,911
2,771
2,122
1,867

5.4
6.0
3.7
3.8
9.1
7.7
12.9
8.9
12.6
12.2
5.1
3.9
2.9
2.1
1.5
1.1
1.0

รวม

90,272

100.0

94,671

100.0

184,943

100.0

  ที่มา  : ข้อมูลจากการสำรวจ ณ กรกฎาคม   2551

แผนภูมิที่  1      ปิรามิดประชากร ของอำเภอเมืองสกลนคร  ปี  2552

ที่มา : ข้อมูลจากการสำรวจ ณ   กรกฎาคม   2551